วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกข่าวการใช้หุ่นยนต์ในการเตรียมผสมยาเคมีบำบัดโรคมะเร็งที่ ร.พ. มหาวชิราลงกรณ์ธัญบุรี

การใช้หุ่นยนต์ในการเตรียมผสมยาเคมีบำบัดโรคมะเร็งที่ ร.พ. มหาวชิราลงกรณ์ธัญบุรี

กรมการแพทย์โดยโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เตรียมยาเคมีบำบัดชนิดฉีดมาใช้ในการเตรียมผสมยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ควบคู่ไปกับการเตรียมยาเคมีบำบัดแบบเดิมโดยเภสัชกร เพื่อประกันความถูกต้องและปลอดภัยของยาเคมีบำบัด โดยยึดมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็งระดับสากล

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์  รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์  ระบุว่า กรมการแพทย์ มีการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในด้านมะเร็งครบวงจร ผลักดันการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขสู่ยุคดิจิทัล ทำให้การรักษาและเครื่องมือทางการแพทย์ได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการ Digital transformation อย่างต่อเนื่อง และด้วยโรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับโลก ซึ่งวิธีการรักษาหลักๆของโรคมะเร็งประกอบด้วย การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด

2.การใช้หุ่นยนต์

การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดทุกปี

ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้งานการเตรียมยาเคมีบำบัดมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงและความผิดพลาดในการเตรียมยาได้ ดังนั้น โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี ได้พัฒนาคุณภาพการรักษาด้านยาเคมีบำบัดโดยการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมยา ได้แก่เทคโนโลยีหุ่นยนต์เตรียมยาเคมีบำบัดชนิดฉีด (Robotic Cytotoxic IV Preparation)

นายแพทย์ อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งระดับตติยภูมิ สังกัดกรมการแพทย์ รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งในเขตสุขภาพที่หุ่นยนต์เตรียมยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี (AYA Cytotoxic IV Preparation) เป็นระบบแขนกลอัตโนมัติ 2 แขน สามารถเคลื่อนไหวหรือผสมยาได้หลายรูปแบบหลายทิศทาง มีการควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่เชื่อมต่อข้อมูลกับระบบ HIS โรงพยาบาล สามารถใช้กับขวดยาเคมีบำบัด กระบอกฉีดยา และสารน้ำได้ทั้งชนิดและขนาด เช่นเดียวกับที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลได้

3.การใช้หุ่นยนต์

ระบบเตรียมยามีความถูกต้องแม่นยำสูง (ไม่เกิน ± 5%)

การเตรียมยาภายใต้สภาวะปลอดเชื้อที่ความสะอาดอากาศระดับ ISO Class 5 สามารถเตรียมยาเคมีบำบัดเป็นชุด (batch) และเตรียมยาเฉพาะบุคคล (Patient-specific) รวมถึงยาที่มีความซับซ้อนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จุดเด่นคือเป็นหุ่นยนต์ที่ผลิตภายในประเทศโดยคนไทยจึงประหยัดต้นทุนค่าบำรุงรักษา อีกทั้งยังไม่กระทบกับ ยา สารน้ำ รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆเพราะสามารถใช้เช่นเดียวกับการเตรียมยาแบบเดิม ผลลัพธ์การดำเนินการในระยะเริ่มแรกเตรียมยาให้ผู้ป่วยได้ 30-50 ตำรับต่อวัน โดยในปี 2567หน่วยงานได้ดำเนินการศึกษาต้นทุนต่อหน่วย และจุดคุ้มทุนของการเตรียมยาเคมีบำบัดชนิดฉีดโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เทียบกับการเตรียมยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมโดยเภสัชกรเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการระดับประเทศในอนาคต

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/news/4434

RELATED ARTICLES

Most Popular